วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551
















แมกเนติกคอนแทกเตอร์(Mangnetic Contactor) เป็นอุปกรณ์ที่อาศัยการทำงานโดยอำนาจแม่เหล็กในการเปิดปิดหน้าสัมผัสในการควบคุมวงจรมอเตอร์์หรือเรียกว่าสวิตช์แม่เหล็ก(Magnetic Switch) หรือคอนแทคเตอร์(Contactor)ก็ได้ข้อดี ของการใช้รีเลย์และแมคเนติกส์คอนแทคเตอร์เมื่อเทียบกับสวิตช์อื่น 1.ให้ความปลอดภัยสำหรับผู้ควบคุมสูง 2.ให้ความสะดวกในการควบคุม 3.ประหยัดเมื่อเทียบกับการควบคุมด้วยมือ














รายละเอียดของส่วนประกอบภายในแมคเนติคคอนแทคเตอร์ แกนเหล็กแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ

แกนเหล็กอยู่กับที่(Fixed Core)จะมีลักษณะขาทั้งสองข้างของแกนเหล็ก มีลวดทองแดงเส้นใหญ่ต่อลัดอยู่ เป็นรูปวงแหวนฝังอยู่ที่ผิวหน้าของแกนเพื่อลดการสั่นสะเทือน ของแกนเหล็ก อันเนื่องมาจากการสั่นสะเทือนไฟฟ้ากระแสสลับ เรียกวงแหวนนี้ว่า เช็ดเด็ดกริ่ง (Shaddedring)











และแกนเหล็กเคลื่อนที่(Stationary Core)ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอัดซ้อนกันเป็นแกน จะมีชุดหน้าสัมผัสเคลื่อนที่(Moving Contact) ยึดติดอยู่













ขดลวด (Coil) ขดลวดทำมาจากลวดทองแดงพันอยู่รอบบอ๊บบิ้นสวมอยู่ตรงกลางของขาตัวอีที่อยู่กับที่ขดลวดทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กมีขั้วต่อไฟเข้าใชสัญญลักษณอักษรกำกับ คือ A1- A2 หรือ a-b






หน้าสัมผัส (Contac) หน้าสัมผัสจะยึดติดอยู่กับแกนเหล็กเคลื่อนที่แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ - หน้าสัมผัสหลัก หรือเรียกว่าเมนคอนแทค(Main Contac) ใช้ในวงจรกำลังทำหน้าที่ตัดต่อระบบไฟฟ้าเข้าสู่โหลด - หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contac) ใช้กับวงจรควบคุม หน้าสัมผัสช่วยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด หน้าสัมผัสปติเปิด (Normally Open : N.o.) หน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : N.C.)









ส่วนประกอบภาพนอก ส่วนที่เป็นหน้าสัมผัสหลัก(MainContac) มีสัญญลักษณ์อักษรกำกับบอกดังนี้ - หน้าสัมผัสหลักคู่ที่1 1/L1 - 2/T1 - หน้าสัมผัสหลักคู่ที่2 3/L2- 4/T2 - หน้าสัมผัสหลักคู่ที่3 5/L3- 6/T3 หมายเลข1 เป็นจุดต่อไไฟฟ้้าเข้าหน้าสัมผัสหลักมีสัญญลักษณ์อักษรกำกับคือ 1/L1 3/L2 และ 5/L3 หมายเลข2 เป็นจุดต่อไไฟฟ้้าเข้าหน้าสัมผัสหลักมีสัญญลักษณ์อักษรกำกับคือ 2/T1 4/T2 และ 6/T3 หมายเลข3 ปุ่มทดสอบหน้าสัมผัส





ส่วนประกอบภาพนอก

หมายเลข 1 ขั้ว Aจุดต่อไฟเข้าขดลวด-A2
หมายเลข 2 หน้าสวัมผ้สปกติเปิดหมายเลข(N.O.)อักษรกำกับหน้าสัมผัสคือ 13-14
หมายเลข 3 หน้าสวัมผ้สปกติปิดหมายเลข(N.C.)อักษรกำกับหน้าสัมผัสคือ 21-22
หมายเลข 4 หน้าสวัมผ้สปกติปิดหมายเลข(N.C.)อักษรกำกับหน้าสัมผัสคือ 31-32
หมายเลข 5 หน้าสวัมผ้สปกติเปิดหมายเลข(N.O.)อักษรกำกับหน้าสัมผัสคือ 43-44





หลักการทำงาน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังขดลวดสนามแม่เหล็กที่อยู่ขากลางของแกนเหล็กขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่แรงสนามแม่เหล็กชนะแรงสปริงดึงให้แกนเหล็กชุดที่เคลื่อนที่เคลื่อนที่ลงมาในสภาวะนี้(ON)คอนแทคทั้งสองชุดจะเปลี่ยนสภาวะการทำงานคือคอนแทคปกติปิดจะเปิดวงจรจุดสัมผัสออก และคอนแทคปกติเปิดจะต่อวงจรของจุดสัมผัส เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปยังขดลวด สนามแม่เหล็กคอนแทคทั้งสองชุดจะกลับไปสู่สภาวะเดิม


ชนิดและขนาดของแมคเนติกคอนแทกเตอร์ คอนแทคเตอร์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลดและการนำไปใช้งานมีดังนี้
AC 1 : เป็นแมคเนติกคอนแทกเตอร์ที่เหมาะสำหรับโหลดที่เป็นความต้านทาน หรือในวงจรที่มีอินดัดทีฟน้อยๆ
AC 2 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้กับโหลหดที่เป็นสปริงมอเตอร์
AC 3 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับใช้การสตาร์ทและหยุดโหหลดที่เป็นมอเตอร์กรงกระรอก
AC 4 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับบการสตาร์ท-หยุดมอเตอร์ วงจร jogging และการกลับทางหมุนมอเตอร์แบบกรงกระรอก



การพิจราณาเลือกไปใช้งาน ในการเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ในการใช้งานให้เหมาะสมกับมอเตอร์นั้น จะพิจรณาที่กระแสสูงสุดในการใช้งาน(reated current) และแรงดัน ของมอเตอร์ ต้องเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่มีกระแสสูงกว่ากระแสที่ใช้งาานของมอเตอร์ ที่มีแรงดันเท่ากันในการพิจรณาเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ใช้งานควรพิจรณาดังนี้
- ลักษณะของโหลอดและการใช้งาน
- แรงดันและความถี่
- สถานที่ใช้งาน
- ความบ่อยครั้งในการใช้งาน
- การป้องกันจากการสัมผัสและการป้องกันนํ้า
- ความคงทนทางกลและทางไฟฟ้า


รีเลย์ (Relay) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่เป็นสวิตช์มีหลักการทำงานคล้ายกับ ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโซลินอยด์(solenoid) รีเลย์ใช้ในการควบคุมวงจร ไฟฟ้าได้อย่างหลากหลาย รีเลย์เป็นสวิตช์ควบคุมที่ทำงานด้วยไฟฟ้า แบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. รีเลย์กำลัง (Power relay) หรือมักเรียกกันว่าคอนแทกเตอร์ (Contactor or Magnetic contactor)ใช้ในการควบคุมไฟฟ้ากำลัง มีขนาดใหญ่กว่ารีเลย์ธรรมดา
2. รีเลย์ควบคุม (Control Relay) มีขนาดเล็กกำลังไฟฟ้าต่ำ ใช้ในวงจรควบคุมทั่วไปที่มีกำลังไฟฟ้าไม่มากนัก หรือเพื่อการควบคุมรีเลย์หรือคอนแทคเตอร์ขนาดใหญ่ รีเลย์ควบคุมบางทีเรียกกันง่าย ๆ ว่า "รีเลย์"




หน้าที่ของคอนแทกเตอร์ คือ การใช้กำลังไฟฟ้าจำนวนน้อยเพื่อไปควบคุมการตัดต่อกำลังไฟฟ้าจำนวนมาก คอนแทกเตอร์ทำให้เราสามารถควบคุมกำลังไฟฟ้าในตำแหน่งอื่นๆ ของระบบไฟฟ้าได้ สายไฟควบคุมให้รีเลย์กำลังหรือคอนแทกเตอร์ทำงานเป็นสายไฟฟ้าขนาดเล็กต่อเข้ากับสวิตช์ควบคุมและคอล์ยของของคอนแทกเตอร์ กำลังไฟฟ้าที่ป้อนเข้าคอล์ยอาจจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบการใช้คอนแทกเตอร์ทำให้สามารถควบคุมวงจรจากระยะไกล(Remote) ได้ ซึ่งทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานในการควบคุมกำลังไฟฟ้า




คอนแทกเตอร์(Contactors) นอกจากจะมีหน้าสัมผัสทั้งส่วนเคลื่อนที่และหน้าสัมผัสส่วนที่อยู่กับที่แล้วหน้าสัมผัสภายในของคอนแทกเตอร์ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามลักษณะของการทำงานซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ คือ
1. หน้าสัมผัสหลัก (Main Contacts) โดยปกติแล้วหน้าสัมผัสหลักมี 3 อัน สำหรับส่งผ่านกำลังไฟฟ้า 3 เฟสเข้าไปสู่มอเตอร์ หรือโหลดที่ใช้แรงดันไฟฟ้า3 เฟส หน้าสัมผัสหลักของคอนแทกเตอร์มีขนาดใหญ่ทนแรงดันและกระแสได้สูง หน้าสัมผัสหลักเป็นชนิดปกติเปิด (Normally open;N.O. contact)อักษรกำกับ หน้าสัมผัสด้านแหล่งจ่ายคือ 1, 3, 5 หรือ L1, L2, L3 และด้านโหลดคือ 2, 4, 6 หรือ T1, T2, T3 ดังรูป
2. หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contacts) หน้าสัมผัสชนิดนี้ติดตั้งอยู่ด้านข้างทั้งสองด้านของตัวคอนแทกเตอร์ มีขนาดเล็กทนกระแสได้ต่ำทำหน้าที่ช่วยการทำงานของวงจร เช่น เป็นหน้าสัมผัสที่ทำให้คอนแทกเตอร์ทำงานได้ตลอดเวลา หรือเรียกว่า "holding" หรือ "maintaining contact" หน้าสัมผัสช่วยนี้จะเป็นหนัาสัมผัสแบบโยกได้สองทาง โดยจะถูกดึงขึ้น-ลงไปตามจังหวะการดูด-ปล่อยของคอนแทกเตอร์ อักษรกำกับหน้าสัมผัสช่วย จะเป็น13, 14 สำหรับคอนแทกเตอร์ที่มีหน้าสัมผัสช่วยแบบปกติเปิด 1 ชุด ถ้ามี N.O. ชุดที่ 2จะเป็น 23, 24 และหน้าสัมผัสช่วยแบบปกติปิดจะมีอักษรกำกับเป็น 31, 32 และ 41, 42








































































ไฟฟ้า คืออะไร

ไฟฟ้า ความร้อน และแสงสว่าง คือพลังงาน (energy) ในรูปแบบต่างๆกัน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องการพลังงานทั้งสิ้น พลังงาน สามารถกักเก็บ และปลดปล่อยออกมา เพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆกัน ในโรงไฟฟ้า เชื้อเพลิง(fuel) จะถูกเผาไหม้  เพื่อปล่อยพลังงานออกมา และนำไปผลิต  เป็นกระแสไฟฟ้า พลังงานสามารถเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได  ้ เมื่อเราเปิดสวิตซ์ไฟกระแสไฟฟ้าจะวิ่งมาที่หลอดทำให้เกิดแสงสว่าง นั่นคือ พลังงานสามารถแปรสภาพไปเป็นความร้อน และแสงสว่างได้