วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การวัดด้วยมิเตอร์แบบเข็ม  หลักการวัดเหมือนไดโอด คือ วัดการนำกระแสของ ไดโอดแต่ละตัว เนื่องจากทรายซิสเตอร์มี 2 ประเภท คือ NPN ,PNP
      1.การหาชนิด ทรานซิสเตอร์
           1.1 เริ่มจากการตั้งย่านการวัดที่ X10
           1.2 นำสายมิเตอร์จับขาใดขาหนึ่งของทรานซิสเตอร์ ไว้
           1.3 สายมิเตอร์อีกเส้น จับวัดสองขาที่เหลือ ที่ละขา พร้อมกับสังเกต ค.ต.ท ที่วัดได้ว่า ต่ำหรือสูง เราพอประมาณค่า ค.ต.ท ไดโอดที่ดีว่า ประมาณเท่าไรได้ เราสนใจ ค.ต.ท ต่ำ 2 ครั้ง หากไม่ได้ลองเปลี่ยน จับขาอื่นๆที่เหลือ
           1.4 ถ้า สายวัดสีแดงจับขา 1 และสายวัดสีดำจับ ขา 2,3 มี ค.ต.ท ต่ำ แสดงว่า ขา1 เป็นขา B ขา 2,3 เป็น C หรือ E (ต้องหาอีกครั้ง) และทรานซิสเตอร์ เป็นชนิด PNP
           1.5 ถ้า สายวัดสีดำจับที่ ขา 1 และ สายแดง จับที่ขา 2,3 มีค.ต.ท ต่ำ แสดงว่า ขา 1 เป็นขา B ขา 2,3 เป็น C หรือ E (ต้องหาอีครั้งหนึ่ง) และทรานซิสเตอร์เป็นชนิด PNP การหาขา C และ E ที่เหลือหลังจากเรารู้ขา B และ ชนิดทรานซิสเตอร์แล้ว
2.ทรานซิสเตอร์ ชนิด NPN
      ใช้สายวัดสีดำของมิตเตอร์จับที่ขา 2 สีแดง จับที่ขา 3 และจับขา B Short กับสายสีดำที่จับขา2 หรือใช้ปากคีบก็ได้ สังเกต ค.ต.ท ว่าเพิ่มขึ้น หรือลดลง ถ้า ค.ต.ท สูงเหมือนเดิม ขาที่สายสีดำจับอยู่ ขา 2 เป็นขา E ส่วนขา 3 ที่เหลือเป็น ขา C ให้กลับสายมิเตอร์ ใหม่แล้วทำซ้ำถ้า ค.ต.ท ต่ำ แสดงว่าขา 2 ที่สีดำจับอยู่เป็นขา C ขาที่เหลือเป็นขา E ทิป
 1. หากการวัดไม่เป็นตามที่กล่าวมา อาจเป็นไปได้ว่าโครงสร้างทรานซิสเตอร์ เป็นแบบพิเศษ เช่น มี R คร่อม C-E หรือ คร่อม BC หรือเป็นทรานซิสเตอร์แบบ Darlington ต่อดู datasheet ประกอบด้วย
 2.อาจเป็นอุปกรณ์อื่นที่ไม่ใช่ทรานซิสเตอร์ ให้ดูวงจรหรือ datasheet ประกอบ
       3.การทริก ขา B ด้วยไฟ DC สำหรับทรานซิสเตอร์ขนาดเล็ก ตั้งมิเตอร์ที่ X10 ถ้าตั้ง X1 ทำให้ทรานซิสเตอร์เสียได้ หรือ power transistor ควรตั้งที่ X1 หากตั้ง X10 ทรานซิสเตอร์ไม่ทำงาน และวัดไม่ได้ผล ที่แน่นอน
การทดสอบเพื่อหาตำแหน่งขาทรานซิสเตอร์ 
      ในการพิสูจน์หาตำแหน่งของทรานซิสเตอร์ โดยการสังเกตดูว่า ขาใดอยู่ใกล้กับขอบเดือยเป็นขา E ขาที่อยู่ตรงข้ามเป็นขา C ส่วนตำแหน่งกลางคือขา B 
การทดสอบหาชนิดของทรานซิสเตอร์ NPN และ PNP 
1. เลือกขาตำแหน่งกลาง แล้วสมมุติให้เป็นขาเบส จากนั้นนำสายวัด(--) ของโอห์มมิเตอร์มาแตะที่ขาเบส ส่วนสายวัด ( + ) ให้นำมาแตะกับสองขาที่เหลือ
      2. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้จากการแตะขาทั้งสองมีค่าต่ำ สรุปได้ทันทีว่า ขาที่ตำแหน่งกลางเป็นขาเบส และทรานซิสเตอร์ที่ทำการวัดนี้เป็นชนิด PNP
      3. สำหรับขาอิมิตเตอร์ คือ ขาที่อยู่ใกล้ตำแหน่งเดือย และขาที่เหลือคือขาคอลเลคเตอร์นั่นเอง
      4. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้มีค่าสูงให้สลับสายวัด (+) เป็น (--) และ (--) เป็น (+)
      5. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้จากการแตะขาทั้งสองมีค่าต่ำ สรุปได้ทันที ขาตำแหน่งกลางคือขาเบส และเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN
      6. ถ้าหากว่าความต้านทานต่ำไม่ปรากฏในทั้งสองกรณี ให้เปลี่ยนเลือกขาอื่นเป็นขาเบส แล้วทำตามขั้นตอนเดิม

      รู้จักกับรีเลย์ ( Relay) 
      รีเลย์อิเล็กทรอนิกส์ Relay เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชิงกลชนิดหนึ่งทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ แต่รีเลย์นั้นคะถูกควบคุมด้วยกระแสไฟฟ้า
      หลักการทำงานของรีเลย์
      ในสภาวะการทำงานปกตินั้นขั้ว C จะต่อกันกับขั้ว NC แต่เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดของรีเลย์แล้ว จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กแล้วไปดึงแผ่นหน้าสัมผัสของขั้ว C ให้มาต่อที่ขั้ว NO
      ตำแหน่งขาของรีเลย์
      ขาจ่ายแรงดันการใช้งาน ซึ่งจะมีอยู่ 2 ขาจากรูปจะเป็นสัญญาลักษณ์ แสดงตำแหน่งขา Coil หรือขาที่จะต้องต่อแรงดันใช้งาน และขา C หรือ COM หรือ คอมมอน จะเป็นขาต่อระหว่าง NO และ NC
      ขา NO หรือ (Normally Opened หรือ ปกติเปิด) โดยปกตินั้นขานี้จะเปิดเอาไว้ จะทำงานก็ต่อเมื่อเราได้ป้อนแรงดันให้กับรีเลย์
      ขา NC (Normally Closed หรือปกติปิด) โดยปกติขานี้จะต่อกันกับขา C ในกรณีที่เรานั้นไม่ได้จ่ายแรงดันให้กับตัวรีเลย์ หน้าสัมผัสของขั้ว C และขั้ว NC จะต่อถึงกัน

      ข้อคำนึงในการใช้งานรีเลย์ทั่วไป
      1.แรงดันที่ใช้ในวงจร
หรือแรงดันที่ทำให้รีเลย์ทำงานได้ หากเราดูที่ตัวรีเลย์จะระบุค่าแรงดันที่ใช้งานไว้ หากใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ส่วนมากจะใช้แรงดันกระแสตรง เช่น 12VDC คือต้องใช้แรงดันที่12 VDC เท่านั้น หากใช้มากกว่านี้ขดลวดภายในตัวรีเลย์อาจจะขาด หรือช๊อตได้ หรือหากใช้แรงดันต่ำกว่า รีเลยืจะไม่ทำงาน ส่วนในการต่อวงจรนั้นสามารถต่อขั้วใดก็ได้ เพราะว่าตัวรีเลย์จะไม่ระบุขั้วต่อไว้ (นอกจากชนิดพิเศษ)
      2.การใช้งานกระแสผ่านหน้าสัมผัส
      ซึ่งที่ตัวรีเลย์จะระบุไว้ เช่น 10A 220-250VAC คือหน้าสัมผัสของรีเลย์นั้นสามารถทนกระแสได้ 10Aที่แรงดันไฟฟ้า 220- 250VAC แต่การใช้งานก็ควรจะใช้งานที่ระดับกระแสต่ำกว่า 10A ถ้ากระแสมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ ตัวของรีเลย์อาจจะเสียหาย หรือหน้าสัมผัสของรีเลย์อาจจะละลายได้
      3.จำนวนหน้าสัมผัสการใช้งาน
      ก่อนการนำรีเลย์ไปใช้งานนั้น ควรดูว่ารีเลย์มีหน้าสัมผัสให้ใช้งานกี่อัน มีขั้วคอมมอหรือเปล่า และรีเลย์นั้นเป็นรีเลย์ประเภทอะไร และใข้แรงดันที่เท่าไหล่

อุปกรณ์ ซีเนอร์ไดโอด
      ซีเนอร์ไดโอด เป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการรักษา และลดระดับแรงดันให้คงที่ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์





ไม่มีความคิดเห็น: