วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551
















แมกเนติกคอนแทกเตอร์(Mangnetic Contactor) เป็นอุปกรณ์ที่อาศัยการทำงานโดยอำนาจแม่เหล็กในการเปิดปิดหน้าสัมผัสในการควบคุมวงจรมอเตอร์์หรือเรียกว่าสวิตช์แม่เหล็ก(Magnetic Switch) หรือคอนแทคเตอร์(Contactor)ก็ได้ข้อดี ของการใช้รีเลย์และแมคเนติกส์คอนแทคเตอร์เมื่อเทียบกับสวิตช์อื่น 1.ให้ความปลอดภัยสำหรับผู้ควบคุมสูง 2.ให้ความสะดวกในการควบคุม 3.ประหยัดเมื่อเทียบกับการควบคุมด้วยมือ














รายละเอียดของส่วนประกอบภายในแมคเนติคคอนแทคเตอร์ แกนเหล็กแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ

แกนเหล็กอยู่กับที่(Fixed Core)จะมีลักษณะขาทั้งสองข้างของแกนเหล็ก มีลวดทองแดงเส้นใหญ่ต่อลัดอยู่ เป็นรูปวงแหวนฝังอยู่ที่ผิวหน้าของแกนเพื่อลดการสั่นสะเทือน ของแกนเหล็ก อันเนื่องมาจากการสั่นสะเทือนไฟฟ้ากระแสสลับ เรียกวงแหวนนี้ว่า เช็ดเด็ดกริ่ง (Shaddedring)











และแกนเหล็กเคลื่อนที่(Stationary Core)ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอัดซ้อนกันเป็นแกน จะมีชุดหน้าสัมผัสเคลื่อนที่(Moving Contact) ยึดติดอยู่













ขดลวด (Coil) ขดลวดทำมาจากลวดทองแดงพันอยู่รอบบอ๊บบิ้นสวมอยู่ตรงกลางของขาตัวอีที่อยู่กับที่ขดลวดทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กมีขั้วต่อไฟเข้าใชสัญญลักษณอักษรกำกับ คือ A1- A2 หรือ a-b






หน้าสัมผัส (Contac) หน้าสัมผัสจะยึดติดอยู่กับแกนเหล็กเคลื่อนที่แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ - หน้าสัมผัสหลัก หรือเรียกว่าเมนคอนแทค(Main Contac) ใช้ในวงจรกำลังทำหน้าที่ตัดต่อระบบไฟฟ้าเข้าสู่โหลด - หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contac) ใช้กับวงจรควบคุม หน้าสัมผัสช่วยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด หน้าสัมผัสปติเปิด (Normally Open : N.o.) หน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : N.C.)









ส่วนประกอบภาพนอก ส่วนที่เป็นหน้าสัมผัสหลัก(MainContac) มีสัญญลักษณ์อักษรกำกับบอกดังนี้ - หน้าสัมผัสหลักคู่ที่1 1/L1 - 2/T1 - หน้าสัมผัสหลักคู่ที่2 3/L2- 4/T2 - หน้าสัมผัสหลักคู่ที่3 5/L3- 6/T3 หมายเลข1 เป็นจุดต่อไไฟฟ้้าเข้าหน้าสัมผัสหลักมีสัญญลักษณ์อักษรกำกับคือ 1/L1 3/L2 และ 5/L3 หมายเลข2 เป็นจุดต่อไไฟฟ้้าเข้าหน้าสัมผัสหลักมีสัญญลักษณ์อักษรกำกับคือ 2/T1 4/T2 และ 6/T3 หมายเลข3 ปุ่มทดสอบหน้าสัมผัส





ส่วนประกอบภาพนอก

หมายเลข 1 ขั้ว Aจุดต่อไฟเข้าขดลวด-A2
หมายเลข 2 หน้าสวัมผ้สปกติเปิดหมายเลข(N.O.)อักษรกำกับหน้าสัมผัสคือ 13-14
หมายเลข 3 หน้าสวัมผ้สปกติปิดหมายเลข(N.C.)อักษรกำกับหน้าสัมผัสคือ 21-22
หมายเลข 4 หน้าสวัมผ้สปกติปิดหมายเลข(N.C.)อักษรกำกับหน้าสัมผัสคือ 31-32
หมายเลข 5 หน้าสวัมผ้สปกติเปิดหมายเลข(N.O.)อักษรกำกับหน้าสัมผัสคือ 43-44





หลักการทำงาน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังขดลวดสนามแม่เหล็กที่อยู่ขากลางของแกนเหล็กขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่แรงสนามแม่เหล็กชนะแรงสปริงดึงให้แกนเหล็กชุดที่เคลื่อนที่เคลื่อนที่ลงมาในสภาวะนี้(ON)คอนแทคทั้งสองชุดจะเปลี่ยนสภาวะการทำงานคือคอนแทคปกติปิดจะเปิดวงจรจุดสัมผัสออก และคอนแทคปกติเปิดจะต่อวงจรของจุดสัมผัส เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปยังขดลวด สนามแม่เหล็กคอนแทคทั้งสองชุดจะกลับไปสู่สภาวะเดิม


ชนิดและขนาดของแมคเนติกคอนแทกเตอร์ คอนแทคเตอร์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลดและการนำไปใช้งานมีดังนี้
AC 1 : เป็นแมคเนติกคอนแทกเตอร์ที่เหมาะสำหรับโหลดที่เป็นความต้านทาน หรือในวงจรที่มีอินดัดทีฟน้อยๆ
AC 2 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้กับโหลหดที่เป็นสปริงมอเตอร์
AC 3 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับใช้การสตาร์ทและหยุดโหหลดที่เป็นมอเตอร์กรงกระรอก
AC 4 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับบการสตาร์ท-หยุดมอเตอร์ วงจร jogging และการกลับทางหมุนมอเตอร์แบบกรงกระรอก



การพิจราณาเลือกไปใช้งาน ในการเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ในการใช้งานให้เหมาะสมกับมอเตอร์นั้น จะพิจรณาที่กระแสสูงสุดในการใช้งาน(reated current) และแรงดัน ของมอเตอร์ ต้องเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่มีกระแสสูงกว่ากระแสที่ใช้งาานของมอเตอร์ ที่มีแรงดันเท่ากันในการพิจรณาเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ใช้งานควรพิจรณาดังนี้
- ลักษณะของโหลอดและการใช้งาน
- แรงดันและความถี่
- สถานที่ใช้งาน
- ความบ่อยครั้งในการใช้งาน
- การป้องกันจากการสัมผัสและการป้องกันนํ้า
- ความคงทนทางกลและทางไฟฟ้า


รีเลย์ (Relay) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่เป็นสวิตช์มีหลักการทำงานคล้ายกับ ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโซลินอยด์(solenoid) รีเลย์ใช้ในการควบคุมวงจร ไฟฟ้าได้อย่างหลากหลาย รีเลย์เป็นสวิตช์ควบคุมที่ทำงานด้วยไฟฟ้า แบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. รีเลย์กำลัง (Power relay) หรือมักเรียกกันว่าคอนแทกเตอร์ (Contactor or Magnetic contactor)ใช้ในการควบคุมไฟฟ้ากำลัง มีขนาดใหญ่กว่ารีเลย์ธรรมดา
2. รีเลย์ควบคุม (Control Relay) มีขนาดเล็กกำลังไฟฟ้าต่ำ ใช้ในวงจรควบคุมทั่วไปที่มีกำลังไฟฟ้าไม่มากนัก หรือเพื่อการควบคุมรีเลย์หรือคอนแทคเตอร์ขนาดใหญ่ รีเลย์ควบคุมบางทีเรียกกันง่าย ๆ ว่า "รีเลย์"




หน้าที่ของคอนแทกเตอร์ คือ การใช้กำลังไฟฟ้าจำนวนน้อยเพื่อไปควบคุมการตัดต่อกำลังไฟฟ้าจำนวนมาก คอนแทกเตอร์ทำให้เราสามารถควบคุมกำลังไฟฟ้าในตำแหน่งอื่นๆ ของระบบไฟฟ้าได้ สายไฟควบคุมให้รีเลย์กำลังหรือคอนแทกเตอร์ทำงานเป็นสายไฟฟ้าขนาดเล็กต่อเข้ากับสวิตช์ควบคุมและคอล์ยของของคอนแทกเตอร์ กำลังไฟฟ้าที่ป้อนเข้าคอล์ยอาจจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบการใช้คอนแทกเตอร์ทำให้สามารถควบคุมวงจรจากระยะไกล(Remote) ได้ ซึ่งทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานในการควบคุมกำลังไฟฟ้า




คอนแทกเตอร์(Contactors) นอกจากจะมีหน้าสัมผัสทั้งส่วนเคลื่อนที่และหน้าสัมผัสส่วนที่อยู่กับที่แล้วหน้าสัมผัสภายในของคอนแทกเตอร์ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามลักษณะของการทำงานซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ คือ
1. หน้าสัมผัสหลัก (Main Contacts) โดยปกติแล้วหน้าสัมผัสหลักมี 3 อัน สำหรับส่งผ่านกำลังไฟฟ้า 3 เฟสเข้าไปสู่มอเตอร์ หรือโหลดที่ใช้แรงดันไฟฟ้า3 เฟส หน้าสัมผัสหลักของคอนแทกเตอร์มีขนาดใหญ่ทนแรงดันและกระแสได้สูง หน้าสัมผัสหลักเป็นชนิดปกติเปิด (Normally open;N.O. contact)อักษรกำกับ หน้าสัมผัสด้านแหล่งจ่ายคือ 1, 3, 5 หรือ L1, L2, L3 และด้านโหลดคือ 2, 4, 6 หรือ T1, T2, T3 ดังรูป
2. หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contacts) หน้าสัมผัสชนิดนี้ติดตั้งอยู่ด้านข้างทั้งสองด้านของตัวคอนแทกเตอร์ มีขนาดเล็กทนกระแสได้ต่ำทำหน้าที่ช่วยการทำงานของวงจร เช่น เป็นหน้าสัมผัสที่ทำให้คอนแทกเตอร์ทำงานได้ตลอดเวลา หรือเรียกว่า "holding" หรือ "maintaining contact" หน้าสัมผัสช่วยนี้จะเป็นหนัาสัมผัสแบบโยกได้สองทาง โดยจะถูกดึงขึ้น-ลงไปตามจังหวะการดูด-ปล่อยของคอนแทกเตอร์ อักษรกำกับหน้าสัมผัสช่วย จะเป็น13, 14 สำหรับคอนแทกเตอร์ที่มีหน้าสัมผัสช่วยแบบปกติเปิด 1 ชุด ถ้ามี N.O. ชุดที่ 2จะเป็น 23, 24 และหน้าสัมผัสช่วยแบบปกติปิดจะมีอักษรกำกับเป็น 31, 32 และ 41, 42








































































ไม่มีความคิดเห็น: